คณะหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่จัดการเรียนการสอนด้านการป่าไม้
กิจกรรมที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals : SDGs)
อัพเดทข่าวสาร เกี่ยวกับคณะวนศาสตร์
กิจกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
วันที่ 31 กรกฎาคม 2567รองคณบดีฝ่ายกายภาพและภูมิทัศน์ หัวหน้าสำนักงานเลขาคณะวนศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยป่าไม้ ร่วมกับกำนันตำบลห้วยยาง ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ รพ.สต. บ้านเนินดินแดง และประชาชนในตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ปลูกต้นไม้ในโครงการ ปลูกป่าเพื่อรองรับนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ สถานีวิจัยและฝึกนิสิตวนศาสตร์หาดวนกร โดยได้ปลูกต้นไม้แบบผสมผสาน ไม้โตช้าและไม้โตเร็ว ได้แก่ ยางนา พะยอม ตะเคียนทอง มะค่าโมง แดง พะยูง เคี่ยมคะนอง กระบาก มะฮอกกานี และ สนประดิพัทธ์ การปลูกเป็นการปลูกอย่างประณีต ด้วยระยะ 4x4 เมตร ในพื้นที่ จำนวน 10 ไร่ ภายใต้โครงการดังกล่าวจะเป็นการช่วยเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวของตำบลห้วยยางและเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการฟื้นฟูป่า
เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 นายณัฐวัฒน์ คลังทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยป่าไม้ ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนคณะวนศาาตร์ เข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัว "การซื้อขายคาร์บอนเครดิตป่าชุมชนสู่การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน" ณ ห้องประชุมอารีสัมพันธ์ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยท่านปลัดกระทรวง ทส. เป็นประธานเปิดงาน สำหรับป่าชุมชนบ้านโค้งตาบาง จ.เพชรบุรี เป็นป่าชุมชนแห่งแรกที่มีการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ป่าชุมชนแห่งนี้มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 3,700ไร่ โดยนำมาจัดทำโครงการ T-VER เนื้อที่ 1,397 ไร่ ซึ่งประเมินปริมาณคาร์บอนได้ 5,259 tco2eq แบ่งปันชุมชนได้ 90% (4,733 tco2eq) ตามระเบียบของกรมป่าไม้ โดย ปตท. รับซื้อในราคาตันละ 1,500 บาท ชุมชนได้รับเงินประมาณ 7 ล้านบาท
โลโก้น้องใหม่ของคณะวนศาสตร์ พ.ศ. 2565
การเปิดโอกาสให้หน่วยงานภายนอกมีส่วนร่วมในการบริหารงานของสถานีวิจัยและฝึกนิสิตวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มก. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
รวมภาพกิจกรรมต่าง ๆ ของคณะวนศาสตร์