หมายถึง นิสิตและบุคลากรทุกคนของคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต้องเป็นผู้ที่ รักษาความสัตย์ มีความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม รู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ความดีนั้น การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริตไม่ว่าจะด้วยประการใด รู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
นิสิตและบุคลากรของคณะวนศาสตร์ ต้องมุ่งทำการวิจัยสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ของงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม
นิสิตและบุคลากรคณะวนศาสตร์ทุกคนล้วนมุ่งทำงานด้านการป่าไม้เพื่อรับใช้สังคมโลกและมวลมนุษยชาติ
เป็นความมุ่งมั่นตั้งใจจริงที่จะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ โดยเป็นสิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดซึ่งนิสิตและบุคลากรคณะวนศาสตร์ทุกคนต่างมุ่งมั่นให้คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก้าวไปสู่
นิสิตและบุคลากรคณะวนศาสตร์ เป็นผู้ที่สร้างสรรค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้เพื่อการก้าวเข้าสู่สังคมโลกอย่างภาคภูมิ
นิสิตและบุคลากรคณะวนศาสตร์ทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรม ร่วมผลักดันสังคมป่าไม้สู่สังคมแห่งธรรมาภิบาล (Good Governance)
นิสิตและบุคลากรคณะวนศาสตร์เป็นผู้นำในอาเซียน ในการผลักดันให้เกิดการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ
เป็นคุณลักษณะและบรรทัดฐานที่มีความเป็นลักษณะเฉพาะของบุคลากรและส่งผลต่อการปฏิบัติงานของนิสิตและบุคลากรของคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีนัยของความหมายที่เป็นตัวย่อ คือ “วนศาสตร์ ศาสตร์แห่งชีวิต (FORESTRY)” ประกอบไปด้วย
F (Friendly) หมายถึง มีความเป็นมิตรไมตรีกับทุกคน
O (Only One) หมายถึง มีความเป็นหนึ่งเดียวที่โดดเด่นด้านทรัพยากรป่าไม้
R (Respect) หมายถึง การให้เกียรติและเชื่อถือซึ่งกันและกัน
E (Ethic) หมายถึง มีคุณธรรมและจริยธรรม
S (Spirit) หมายถึง ความมีน้ำใจและจิตวิญญาณแห่งความเป็นวนศาสตร์
T (Teamwork) หมายถึง สามารถทำงานเป็นทีมได้ดี
R (Rational) หมายถึง เป็นผู้ที่ดำรงไว้ซึ่งความมีเหตุมีผล
Y (Yield) หมายถึง การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
เป็นการประมวลผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกผสมผสานกัน แล้วร่วมกันฉายภาพความต้องการของแต่ละฝ่าย การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ไปจนถึงปี พ.ศ. 2559 ว่าต้องการนำพาองคาพยพของคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไปในทิศทางใด ซึ่งผลจากการระดมสมองได้วิสัยทัศน์ว่า ในระหว่างปี พ.ศ. 2555-2559 การบริหารจัดการคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ จะมุ่งสู่เป้าหมายที่สำคัญ ดังนี้
"ศูนย์วิชาการป่าไม้แห่งอาเซียน แหล่งเรียนรู้หมายความว่า การบริหารจัดการคณะวนศาสตร์ในระหว่างปี พ.ศ.2555-2559 จะมุ่งมั่นให้ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นศูนย์วิชาการป่าไม้แห่งอาเซียน (Forestry Hub in ASEAN) เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญด้านป่าไม้ควบคู่กับการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม เป็นผู้นำด้านการสร้างปัญญา (Wisdom) ทางวิชาการทางวนศาสตร์ มีเครือข่ายการทำงานที่ครอบคลุมทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนตลอดไป
เป็นกรอบหรือขอบเขตการดำเนินงานของคณะวนศาสตร์ โดยนำจาก 2 แหล่งด้วยกัน คือ จากพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2541 และจากการระดมสมองเพื่อหาแนวทางให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ในปี พ.ศ. 2559 นำมาบูรณาการกันกำหนดเป็นพันธกิจไว้
1) สร้างบัณฑิตที่เปี่ยมด้วยปัญญา คุณธรรม จริยธรรม และจิตวิญญาณในการรักษาทรัพยากรป่าไม้ ให้เป็นที่ยอมรับในประชาคมโลก
2) ศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา และบูรณาการองค์ความรู้ด้านทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของสังคมให้เกิดความยั่งยืน
3) บริหารจัดการคณะวนศาสตร์และพัฒนาเครือข่าย ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ธรรมาภิบาล ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนการเสริมสร้างศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ
4) ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ ถ่ายทอด และให้บริการความรู้ด้านทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์ของมวลมหาชน